ข้อมูลองค์กร

สมาคมนักสร้างเสริมสุขภาพเพื่อพัฒนาสุขภาวะชุมชน (สนสช.)

เป็นองค์กรเชิงกลไกการขับเคลื่อนงานระดับภูมิภาค เกิดขึ้นภายใต้ยุทธศาสตร์ของสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีภารกิจในการกำกับทิศทางการทำงานติดตามหนุนเสริมกระบวนการทำงานของพื้นที่ ตลอดถึงประสานความร่วมมือหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคม เพื่อแก้ไขปัญหาแอลกอฮอล์ ตลอดจนการจัดการความรู้ หนุนเสริมพัฒนาศักยภาพเครือข่ายประชาสังคมงดเหล้ากลุ่มภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน น่าน แพร่ พะเยา และ แม่ฮ่องสอน โดยใช้แนวคิดหลักในการทำงาน คือ “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” ของศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี เป็นการทำงานที่มุ่งเน้นในการประสานความร่วมมือเครือข่ายในพื้นที่ การทำงานบนฐานบทเรียน องค์ความรู้ ข้อค้นพบ รวมถึงข้อมูลเชิงประจักษ์และการผลักดันให้เกิดนโยบายสาธารณะ ทั้งนี้ การทำงานของเครือข่ายประชาสังคมงดเหล้าภาคเหนือตอนบน อยู่ภายใต้ฐานคิดร่วมกันคือ การกระตุ้นสังคม “ฅนเมือง” ให้ตื่นตัวเอาธุระกับปัญหาแอลกอฮอล์ หรือให้คนในพื้นที่เป็นเจ้าของปัญหาและ มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของตนเอง ซึ่งเป็นต้นทุนทางสังคมสำคัญต่อการทำงานเพื่อแก้ปัญหาในระยะยาว 

วิสัยทัศน์

“สานพลังเครือข่าย นวัตกรรมสุขภาพ เพื่อชุมชนพึ่งตนเองอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน”
(Innovative Health Network Synergy For Creative Sustainable Self Community Alliance)

พันธกิจ

“ประสานความร่วมมือ เครือข่ายนวัตกรรมสุขภาพ
เพื่อขับเคลื่อนชุมชน สังคม อย่างสร้างสรรค์และเอื้อต่อการมีสุขภาวะ”

บุคลิกคนทำงานและวัฒนธรรมองค์กร

  1. เป็นนักประสานความร่วมมือ ลดความขัดแย้ง เพิ่มพลังคนทำงาน/และภาคีเครือข่ายสุขภาพ
  2. พร้อมเรียนรู้กับสิ่งใหม่ ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ กล้าคิด กล้าทำสิ่งใหม่ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
  3. สร้างสรรค์ ต่อยอดแนวคิด หรือกิจกรรมที่ทำอยู่ ให้มีความน่าสนใจ นำไปสู่ “กระบวนการสร้างนวัตกรรม” 
  4. เน้นกระบวนการทำงานอย่างมีส่วนร่วม ในทุกขั้นตอน 
  5. กระตุ้น เสริมพลังบุคคล ชุมชน และสังคม ให้เป็นเจ้าของ ร่วมขับเคลื่อนสังคมสุขภาวะ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า