พร้าวโมเดลวิชาการรับใช้สังคมอย่างยั่งยืน พื้นที่เรียนรู้ระหว่างชุมชนและท้องถิ่น

cmumodel

“พร้าวโมเดล” เป็นการริเริ่มทำงานวิจัยและพัฒนาร่วมกัน มีความพิเศษอย่างยิ่ง เนื่องจากความร่วมมือเกิดจากการประสานงานของ ดร.ทิพวรรณ ประภามณฑล นักวิจัยอาวุโสหน่วยวิจัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภพ หัวหน้าโครงการมลพิษหมอกควันในภาคเหนือตอนบน นำประชาคมอำเภอพร้าว ประกอบด้วยเจ้าคณะอำเภอพร้าว อดีตนายอำเภอประกาศิต มหาสิงห์ นายก อบต. นายกเทศมนตรี ประธานสภาของ อบต./เทศบาล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำกลุ่ม ตลอดจน หัวหน้าส่วนราชการต่างๆในอำเภอพร้าว รวม 30 คน ได้เข้าพบและหารือ ร่วมกับอดีตอธิการบดี ศ. ดร. พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ รวมทั้งผู้บริหารมหาวิทยาลัยและส่วนงาน เมื่อเดือนสิงหาคม 2554 ต่อมา มีการประชุมหารือ พบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนและกำหนดทิศทางการทำงานร่วมกันในพื้นที่หลายครั้ง  พัฒนาจนเกิดโครงการ “การบริหารจัดการวิชาการรับใช้สังคมของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : พร้าวโมเดล” ขึ้นเมื่อเดือน ตุลาคม 2554

 

“โครงการพร้าวโมเดล” จึงกลายเป็นชื่อเรียกสั้นๆ ทั้งในพื้นที่อำเภอพร้าว และในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เริ่มคุ้นหู และเป็นที่รู้จัก ทั้งนี้ กระบวนการทำงานที่ผ่านมา ประกอบด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย ดังนี้
1.การประชุมหารือ ทั้งภายในมหาวิทยาลัย เพื่อชี้แจง ทำความเข้าใจ เชิญชวน กลุ่มคณาจารย์ใน มช. ให้รู้จักเป้าหมาย และ แนวทางการสนับสนุน
2.การประชุมหารือในพื้นที่อำเภอพร้าว  เพื่อแสวงหาโจทย์วิจัยร่วมกัน ประเด็นปัญหา สร้างความเข้าใจกับผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แกนนำชุมชน ปราชญ์ชุมชน และเกษตรกรทั่วไป เพื่อให้รับรู้เป้าหมาย และความตั้งใจของ มช. โดยเน้น การเชิญชวนเข้าร่วมการทำวิจัยและบริการวิชาการมิติใหม่ คือ “ใช้ข้อมูลประกอบการแสวงหาแนวทางการแก้ไขปัญหา และลงมือปฏิบัติไปพร้อมๆ กัน ระหว่างนักวิชาการและแกนนำชาวบ้านที่เป็นเจ้าของปัญหา มิใช่เป็นเพียงของการนำของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง” เช่นในอดีตที่ผ่านมา
3.จัดกิจกรรม Capacity building โดยการจัดกระบวนการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ทั้งนักวิชาการ และแกนนำชุมชนได้แสวงหาความรู้ และเกิดการเรียนรู้ไปพร้อมกัน เช่น การจัดหลักสูตรการฝึกอบรมการวิเคราะห์ชุมชน โดยใช้พื้นที่ หมู่ 2 ตำบลน้ำแพร่ เป็นชุมชนฝึกปฏิบัติการ ซึ่งในภายหลังเกิดเป็นโครงการวิจัยต่อเนื่อง คือ โครงการวิจัย เรื่อง “การสืบค้นภูมิปัญญาเพื่อหาแนวทางจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว จังหวดเชียงใหม่”

 

โครงการพร้าวโมเดล เน้นกระบวนการวิจัย บริการชุมชนและการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม ตามแนวคิดการเสริมพลัง (Empowerment) ด้วยมั่นใจว่าจะนำไปสู่การ “สร้างคน” และ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” จึงเน้นสร้าง “การศึกษาที่มีความหมายครบถ้วนทั้งทฤษฎี ปฏิบัติ และเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม” กลยุทธสำคัญของโครงการพร้าวโมเดล คือการทำงานแบบเป็นหุ้นส่วน โดยร่วมมือกับ ภาคีที่เป็น “กัลยาณมิตร” ดังนี้
1.ร่วมมือกับแหล่งทุนวิจัยได้แก่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น ในการพัฒนาข้อเสนอโครงการ โดยเน้นหลักสำคัญคือ โจทย์วิจัยของชุมชน มีทีมวิจัยของชุมชนเข้าร่วมในกระบวนการทำงาน และมีแผนปฏิบัติการที่คิดร่มกันระหว่างวิจัยนักวิชาการ และนักวิจัยชุมชน ซึ่งปัจจุบันมีโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุน2 โครงการดังกล่าวข้างต้นและอีกโครงการหนึ่งได้แก่ โครงการวิจัย เรื่อง “การเสริมสร้างสมรรถนะด้านการผลิตและการตลาดของกลุ่มผู้ผลิตพืชเศรษฐกิจอินทรีย์ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่”
2.ร่วมมือกับศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อชุมชนภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น เพื่อร่วมพัฒนาโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่นซึ่งอยู่ระหว่างพัฒนาพิจารณา Proposal 1 โครงการ คือ โครงการวิจัย เรื่อง “การจัดการปัญหายาเสพติดอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลเขื่อนผาก อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่”
3.ร่วมมือกับ สำนักงานวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (สพช.) ในการถอดบทเรียนระบบสุขภาพชุมชนของ 5 ตำบลในอำเภอพร้าวโดยปฏิบัติการร่วมกับนักศึกษาปริญญาโท สาขาส่งเสริมการเกษตร ตั้งแต่การเริ่มเปิดเวทีพูดคุย การพัฒนาประเด็นปัญหาและความต้องการของชุมชนเกิดผลกระทบ คือ เกิดโครงการวิจัยในการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโท 3 โครงการ โหล่งขอด ตำบลแม่แวน และตำบลสันทราย
4.การผลักดันให้เกิดการเรียนรู้ของนักศึกษาทั้งในรูปแบบของการผ่านกระบวนการเรียนการสอน ตัวอย่างเช่น สนับสนุนการเรียนรู้ของคณาจารย์และนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ จำนวน 150 คน โดยได้นำนักศึกษาเข้าพื้นที่เพื่อเรียนรู้ และพัฒนาทักษะของตนเองในการลงชุมชน และการวิเคราะห์ชุมชนที่อาศัยข้อมูลมากขึ้น
5.ร่วมมือกับกองพัฒนาศักยภาพนักศึกษา ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ชุมชน ของนักศึกษาโครงการ “เด็กดีมีที่เรียน” จำวน 75 คน ในพื้นที่ตำบลโหล่งขอด

 

สำหรับการจัดการปลายน้ำนั้น คณะทำงาน 50 ปี มช. ได้ให้ความอนุเคราะห์จัดทำ VCD “เสียงจากชาวบ้านอำเภอพร้าว” นอกจากนี้ มูลนิธิรากแก้ว ก็ได้จัดทำ VCD บทเรียนนักวิจัยเพื่อท้องถิ่นอำเภอพร้าว ด้วย คณาจารย์และนักวิจัยของ 2 โครงการวิจัย ก็ได้เขียนบทความทางวิชาการจะเห็น กระบวนการพัฒนาระบบบริหารจัดการวิชาการรับใช้สังคมในอำเภอพร้าว เพื่ออำนวยความสะดวกให้คณาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา ได้เรียนรู้ร่วมกับชุมชนอำเภอพร้าวในแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น ยังเป็นเพียงช่วงเริ่มต้น ท้องถิ่นอำเภอพร้าวยังมีทั้ง “ของดี” ที่ต้องการการพัฒนาต่อยอด “ปัญหา” ที่ต้องการกัลยาณมิตรมาร่วมแก้ไป อาทิประเด็นปัญหาดังกล่าว “ท้าทาย” ให้ ผู้บริหาร คณาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา และบุคลากรสายสนับสนุน ไปร่วมทำวิจัย บริการวิชาการ จัดการเรียนการสอนบนฐานชุมชน เพื่อให้เกิดการพัฒนา “คนเมืองพร้าว” และ “บุคลากร มช. “ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ในระยะ ที่ 2 (พฤษภาคม 2555-พฤษภาคม 2557) ต่อไป

 

บทความ : งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า