บุคคลสาธารณะ ตอน.บุญญาวัฒน์ ธงทอง

บทความนี้คัดลอกมาจากหนังสือ บุก_คนสาธารณะ พิมพ์ครั้งที่ 1 มกราคม พ.ศ.2556
“บุคคลสาธารณะ” มีลักษณะพิเศษ เป็นแบบอย่างต่อสังคม มีความดีเป็นพื้นฐาน ไม่จำเป็นต้องรู้จักทั่วประเทศ คิดถึงเรื่องของคนอื่นมากกว่าตัวเอง น่ายกย่อง เห็นประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าตนเอง

บุญญาวัฒน์ ธงทอง
กลุ่มคนรักการสื่อสารมวลชน
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

peaple-boonyawat

ครั้งแรกทำกิจกรรมตอนอยู่ชั้นอนุบาล ได้แสดงละครสะท้อนปัญหาสังคม เรื่องยาเสพติด ได้รับทุนการศึกษาจากภรรยาท่านสนั่น ขจรประศาสตร์ พอเข้ามหาวิทยาลัย กิจกรรมที่ทำจะยากและกว้างมากขื้น และผมเรียนเกี่ยวกับสื่อ ก็ได้ร่วมโครงการของ acco Group ในการทำฝายต้นน้ำ ชุมชนปกาเกอญอ(กะเหรี่ยงเผ่าสกอร์) มีโอกาสเข้าไปทำสารคดี เรียนรู้วิถีชีวิต เรียนรู้และเผยแพร่ ชีวิตของชุมชน ซึ่งมีความยาก ในการทำ เพราะต้องเข้าไปเรียนรู้ชีวิตจริง มันทำให้เราโตขึ้น และเชื่อว่า ทำสื่อจริงๆ ก็สามารถช่วยชาวบ้านได้จริง

จากนักเรียนทุนสมเด็จพระเทพฯ นักเรียนทุนทุกคนก็จะทำประโยชน์เพื่อสังคม แต่นี่ก็ไม่ใช่ข้อบังคับที่ต้องทำ ไม่ว่าเราอยู่ไหนก็ทำเพื่อสังคมได้ มีคนถามว่าเรียนสื่อแล้ว จะช่วยสังคมได้อย่างไรบ้าง เพราะนักเรียนทุนหลายคน เลือกเรียนหมอ เรียนพยาบาล เรียนเภสัช สายต่างๆ ที่ว่ามาก็เกี่ยวข้องกับคน ชุมชน ผมก็ตอบไปว่า ถ้าใจเรามันอยากจะช่วยเหลือสังคมอยู่ที่ไหน เรียนอะไรก็ไม่สำคัญ คุณเป็นอะไรก็สามารทำได้หมด ที่เลือกเรียนด้านการทำสื่อ ก็ตั้งใจจะทำสื่อผลิตสื่อเพื่อสังคม เพราะว่าเราโตมาด้วยทุนของพระเทพฯ เงินที่ได้จากประชาชนถวายให้พระองค์ และทุนดังกล่าวก็แปลงมาเป็นทุนการศึกษา เพื่อเด็กและเยาวชนจึงอยากทำสื่อเพื่อสังคม เพราะถ้าสื่อไม่ได้ช่วยสังคม ก็เป็นสื่อขยะ ผมตระหนักวิชาชีพที่เราเรียน และอยากใช้ชีวิตให้เป็นคุณค่า เราจะต้องต่างตอบแทนให้กับสังคม

โครงการเชียงใหม่เอี่ยม โครงการหนังสั้น เพื่อเปลี่ยนแปลงเมืองเชียงใหม่ โดยมีพี่ๆ จาก GTH โครงการนี้ผมสนเรื่อง การผลิตหนัง ตอนนั้นผมทำเรื่อง 3 แพร่ง โดยมีทีมงานร่วมกัน 13 คน โดยทำเรื่อง ขยะในเมืองเชียงใหม่ โดยงานนี้เราได้ความรู้ และได้รับทราบปัญหาของเมืองเชียงใหม่ ออกสำรวจพื้นที่เชียงใหม่ การทำงาน ดูเหมือนกับว่าเชียงใหม่กำลังถูกทำร้ายจากที่เราไม่ได้กลับไปมอง เราก็ได้รู้หลายอย่าง รู้จักคนเพิ่ม และเป็นจุดเริ่มในการทำผลงาน สื่อที่เป็นปัจจุบัน สื่อคือทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูล ให้ความบันเทิง สร้างความรู้กับสังคม เป็น Mass ต่อคนหมู่มาก สื่อที่ดีต้องให้ปัญญากับสังคม สื่อที่ดีต้องมีสิ่งดีๆ แฝงอยู่ในสื่อ แต่สื่อที่ไม่มีประโยชน์ก็มี อาทิเช่น หนังสือที่แย่ คือ หมึกเปื้อนกระดาษ เป็นวิทยุก็เป็นเหมือนคลื่นเปื้อนอากาศ สื่อที่ดีต้องให้ผลประโยชน์ จรรโลงสังคม

การรวบรวมข้อมูลจนกลายเป็นสื่อเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม เรื่องขยะ พ่อแม่ คนชราถูกทิ้ง เหล้า บุหรี่ เท่าที่ผมเคยสัมผัสมา เรามองเห็นปัญหาแล้ว เราก็จะร่วมกันวิเคราะห์หาต้นตอ สาเหตุของปัญหา ผลกระทบกับคน ผลกระทบต่อสังคมรอบข้าง ประสบการณ์ตรง พ่อผมอาจจะเคยกินเหล้า เพื่อนๆก็สูบบุหรี่ ทุกอย่างล้วนเป็นเรื่องใกล้ตัว ที่พบเจอในชีวิตประจำวัน ถ้าเรามองเห็นว่า เป็นปัญหา ก็จะเริ่มคิด จะทำอย่างไร ให้เห็นปัญหา และร่วมสร้าง Massage เพื่อสื่อสารกับคนในสังคม อาจจะเป็นการกระตุ้นให้ฉุกคิด แนะนำ หรือรูปแบบการชี้โทษให้เห็น คนแย่ คนป่วยแล้วตายจากปัญหา ให้คนที่มองเห็นแล้วตระหนักเลย การจะบอกหรือสอนว่า ดื่มเหล้าไม่ดีอย่างไร ต่อเพื่อนในมหาวิทยาลัย ไม่สามารถสอนตรงๆ แต่สื่อสารผ่านการกระทำของตัวละคร ผ่านบท คำพูด ศาสตร์ทางภาพยนตร์ ศาสตร์ทางละครการโฆษณาต่างๆ สื่อในปัจจุบันโลกเปลี่ยนไป สื่อก็เปลี่ยนไป การสอนหรือบอกตรงๆ คนส่วนใหญ่จะไม่เชื่อ แต่ถ้ามีตัวอย่าง สร้างเหตุการณ์ มีวิธีการนำเสนอที่แปลกใหม่ ให้คนดูได้มันน่าสนใจ คนก็จะรับรู้ข้อมูลโดยไม่ใช้การสอนแต่เป็นการทำการสื่อสารแบบ เนียนๆ ไป ก็จะทำให้สื่อเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น

สื่อน้ำดีที่เข้ามาสู่คน สื่อดีจะไปทดแทนสื่อไม่ดี ปัจจุบันสื่อเป็นที่สนใจของคนจำนวนมาก และสื่อเหล่านี้นำไปสู่การลอกเลียนแบบ การรับรู้ข้อมูลผิด การใช้ภาษาที่ผิด นำไปสู่การเกิดค่านิยมที่ผิด สื่อจำนวนมากในปัจจุบัน เป็นสื่อเชิงพานิชย์ หรือเพื่อการตลาดของธุรกิจ แสวงหาผลกำไร จนลืมนึกถึงผลกระทบต่อสังคม สื่อที่ดี แต่ยังขาดวิธีจูงใจให้คนเขามาดู บางครั้งต้องกลับไปวิเคราะห์สื่อที่ไม่ดี ว่าเขามีการนำเสนออย่างไร ทำไมคนในสังคมให้ความสนใจ เราต้องมองตรงนี้ สื่อดีต้องพัฒนา เมื่อมีคนสนใจและติดตามเรื่องราว ก็สามารถแทรกเนื้อหาอะไรลงไปได้ สิ่งสำคัญ ต้องตระหนักว่า สื่อนั้นจะรับผิดชอบต่อสังคมอย่างไร

สื่อสร้างสรรค์ อะหยังฟิลม์ คือ กลุ่มคนคนรักการสื่อสารมวลชน มีโครงการน่าสนใจที่รุ่นพี่แนะนำ เมื่อตกลงกันที่จะทำ ก็ถามกันว่าจะใช้ชื่ออะไรดี (อะหยังดี) ก็เลยเอาคำพ้องตั้งชื่อทีมว่า อะหยังฟิลม์ ภาคเหนือ เรื่องแรกคือ เรื่องนักศึกษา เรียน รัก เพื่อน เน้นจะไม่ทำสื่อเป็นสื่อขยะ ใช้ความรู้เล็กๆน้อยๆ แทรกลงไปมันจะค่อยสร้างความตระหนักให้ความรู้แก่คนในสังคม เรื่องใกล้ตัว เรื่องจริงที่เกิดขึ้น เช่น เรื่องเพื่อน ทำไงให้คนเห็นคุณค่าของเพื่อน รักเพื่อน มิตรภาพวัยเรียน ความสุขในปี 4 สิ่งแวดล้อม สิ่งที่เป็นปัญหา อยากให้คนตระหนักให้คนรู้ ความเหลื่อมล้ำทางสังคม สวัสดิการ การแพทย์ วิถีชีวิต ที่มีความแตกต่างกันมาก เราอาจจะเกิดมาจากสังคมชนบท เรื่อง ความจน ความรวย ความมีเงิน ไม่มีเงิน โอกาส การเรียน สวัสดิการของรัฐแต่คนในประเทศของเรามีชีวิตที่ดีมีไม่มาก แต่คนที่มีความทุกข์ในที่ต่างๆในดอย และถ้าเราทำให้คนในสังคมในประเทศมันเท่าเทียมกัน ผมอยากทำทำสื่อชาวบ้าน เพื่อคนในชุมชน

ข้อคิดคนทำสื่อ
มันเป็นอาชีพที่ท้าทายและเหนื่อยมาก ทำดีเขาก็ชม ทำแย่ก็สาปแช่ง กำลังใจจึงเป็นสิ่งสำคัญ ต้องตระหนักเสมอว่า สื่อต้องทำเพื่อสังคม และมีเป้าหมายว่าทำเพื่อใคร ให้กำลังใจตัวเอง และถ้าสื่อเราเป็นประโยชน์ สื่อเราไม่ทำร้ายสังคม และคนจะเห็นในความดี และมันจะส่งผลดีต่อสังคมต่อไป

ส่วนคนที่เริ่มจะทำ อย่าหยุดเพียงแค่คิดจะทำ จะต้องลงมือทำเลย ประสบการณ์จะสอนตัวเราเอง ความรู้จะเกิดขึ้นจากการทำงาน ทำดีอย่าชื่นชมตัวเอง ต้องหาสิ่งท้าทายใหม่ๆ แล้วเราจะสนุกกับการใช้ชีวิต.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า