“เวียนเทียนเข้าพรรษาชวนมาเลิกเหล้า กลางกว๊านพะเยา หนึ่งเดียวในโลกครั้งที่ 28 “

เมื่อวันที่ 16 ก.ค. 2559 นายสรธร สันทัด รองผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา นายศรีโรจน์ นิมมานพัชรินทร์ ปลัดจังหวัดพะเยา นำข้าราชการ หัวหน้าส่วนในจังหวัดจัดกิจกรรม “เวียนเทียนเข้าพรรษาชวนมาเลิกเหล้า กลางกว๊านพะเยา หนึ่งเดียวในโลกครั้งที่  28 “ทางศูนย์ปฏิบัติการแก้ปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จังหวัดพะเยาและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เครือข่ายองค์กรงดเหล้าภาคเหนือตอนบน (สคล.) จึงได้จัดการประชุม และจัดกิจกรรมเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาในเรื่องของการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชนและขับเคลื่อนโดยศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จังหวัด

13823543_1052851554805878_1081962108_nจากข้อมูลจากสำนักวิจัยปัญหาสุราแห่งชาติได้รายงานผมว่าพะเยามีอัตราการที่หนึ่งของประเทศ ทำให้คณะทำงานได้ร่วมกันแก้ไขปัญหาโดยมีศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการบริโภคเครื่องแอลกอฮอล์ระดับจังหวัดเกิดขึ้น โดยมีปลัดจังหวัดเป็นประธานศูนย์ฯ จากการดำเนินงานที่ผ่านทำให้เกิดพื้นที่ต้นแบบ และมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง   จึงเกิดกิจกรรม“เวียนเทียนเข้าพรรษาชวนมาเลิกเหล้า กลางกว๊านพะเยา หนึ่งเดียวในโลกครั้งที่  28 “และทำให้เกิดผลคือการพร้อมลุยกวาดล้าง เหล้าเถื่อน สั่ง มท.เข้ม ตรวจสอบใบอนุญาต มาตรฐานการผลิต และการเสียภาษีในพื้นที่ ควบคุมสุราพื้นบ้าน ชู”พะเยาโมเดล”ต้นแบบ ลด ละ เลิกโดยได้มีการตรวจสอบใบอนุญาตการผลิตสุรา คุณภาพสุรา มาตรฐานของโรงงาน สถานที่จำหน่าย ระยะเวลาจำหน่าย มีภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมจนประสบความสำเร็จ “พะเยาโมเดล” ตั้งแต่การตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จ.พะเยา ให้คำแนะนำในการลด ละ เลิกการดื่มสุรา หากมีการตั้งโรงงานผลิตสุราจะต้องได้รับอนุญาตจากชุมชน และเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด ทำให้โรงงานสุราชุมชน มีจำนวนลดลงเหลือ 200 แห่งในปี 58 จากเดิมที่มีถึง 270 แห่งในปี 47 นโยบายและหลักการดำเนินงานร่วมกันแก้ปัญหาจากสถานการณ์

13823395_1052851504805883_465997872_n

การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชนในพื้นที่จังหวัดพะเยาในการจัดทำยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหา เช่นมาตรการทางกฏหมายไม่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้เยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี ไม่จำหน่ายในสถานที่และเวลาที่ พรบ.ควบคุมแอลกอฮอล์กำหนดไว้ มาตรการคุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรง มาตรการสำหรับโรงกลั่นสุราชุมชน การรณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างค่านิยม หรือมาตรการสร้างภูมิคุ้มกันกับเด็กเยาวชนเป็นต้น และจากการประชุมได้สรุปผลวิเคราะห์สถานการณ์จะเห็นว่าประชาชนยังมีค่านิยมในการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สูง ประกอบกับการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ง่ายอันเนื่องมาจากกลยุทธ์การตลาดของบริษัทน้ำเมามีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบใหม่ตลอดเวลาเพื่อดึงดูดลูกค้าโดยเฉพาะนักดื่มหน้าใหม่ที่รู้ไม่เท่าทันมองว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นเรื่องปกติ ทั้งนี้จังหวัดพะเยาจึงเป็นตัวอย่างในการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะการสร้างความร่วมมือจากประชาชนตามแนวทางประชารัฐ และการบังคับใช้กฎหมายอย่างเฉียบขาด เช่น การตรวจจับผู้ผลิตที่ไม่มีใบอนุญาต หลีกเลี่ยงภาษี หรือใช้กระบวนการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน

13817272_1052851581472542_187498339_n

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า