เชียงใหม่ รุกหนัก จัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนการกระทำความผิดภาคประชาชน สนับสนุนข้อมูลภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพ

ประชุมจัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียน

เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2558 เครือข่ายประชาคมงดเหล้า จังหวัดเชียงใหม่ โดยฝ่ายงานยุทธศาสตร์จังหวัดเพื่อแก้ไขปัญหาแอลกอฮอล์ระดับพื้นที่ ได้จัดอบรมอาสาเฝ้าระวังการกระทำความผิด พรบ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ณ ห้องประชุมสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(พอช.) ซึ่งมี พระครูสมุห์ดร.วิเชียร คุณธมฺโม ประธานเครือข่ายงดเหล้าจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดงาน และกล่าวถึงวัตถุประสงค์สำคัญของการจัดอบรมครั้งนี้ เพื่อสร้างกลไกการเฝ้าระวังการทำผิดกฎหมายของธุรกิจแอลกอฮอล์ เป็นต้นว่า ร้านค้า ผู้ประกอบการ และการทำผิดกฎหมายด้านอื่นๆ ตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 และเพื่อสนับสนุนข้อมูลการกระทำความผิด กับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ การอบรมครั้งนี้ เนื้อหา เน้นให้ความรู้และทำความเข้าใจ 3 ด้าน ได้แก่ พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 เทคนิคกระบวนการทำงานของอาสาเฝ้าระวัง การส่งต่อข้อมูลและรางวัลนำจับการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การทำงานในพื้นที่ และระบบการหนุนเสริมอาสาเฝ้าระวัง โดยศูนย์รับเรื่องร้องเรียนภาคประชาชน

ประชุมจัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียน

นายกล้าณรงค์ ไกรฤกษ์ ผู้ประสานงานโซนกลางกล่าวว่า การแก้ไขปัญหาแอลกอฮอล์ในระดับจังหวัด ยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ และครอบคลุมทั้งจังหวัด สถานที่ราชการหลายแห่ง ยังมีการปล่อยให้มีการดื่ม การจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสนับสนุนข้อมูลกับภาครัฐ ที่ยังไม่มีความชัดเจน การดำเนินกิจกรรมครั้งนี้ ต้องการยกระดับการทำงาน โดยสร้างกลไกเฝ้าระวังนำร่อง 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง, อำเภอสารภี, อำเภอหางดง, อำเภอสันป่าตอง, อำเภอสันทราย, อำเภอดอยสะเก็ด และอำเภอแม่ริมเป็นต้น
ประชุมจัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียน

พระครูสังฆรักษ์ชัยวัฒน์ พระนักพัฒนาในพื้นที่อำเภอแม่ริม ได้กล่าวถึงสถานการณ์การปฏิบัติตามกฎหมายในพื้นที่ว่า มีร้านสะดวกซื้อ ร้านเซเว่น ที่จำหน่ายเครื่องแอลกอฮอล์ จำนวนมาก ข้อจำกัดคือ เวลาเจ้าหน้าที่ออกตรวจ ร้านค้าผู้ประกอบการ จะได้รับการแจ้งเตือนก่อน ทำให้การบังคับใช้กฎหมายด้อยประสิทธิภาพลงไปมาก

ประชุมจัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียน

นายธงชัย ยงยืน ผู้ประสานงานเครือข่ายภาคเหนือตอนบน กล่าวว่า การจัดการอบรมครั้งนี้ เป็นการเสริมศักยภาพ และยกระดับบทบาทภาคประชาชน สร้างการมีส่วนร่วมการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่ ของตนเอง ซึ่งปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นเพียงหนึ่งปัญหาเท่านั้น การทำงานในระดับพื้นที่บทบาทของภาคประชาชนมีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง ในการตรวจสอบ เฝ้าระวังการกระทำความผิดอื่นๆ ที่เกิดขึ้น และการส่งข้อมูลให้กับภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมสู่ทิศทางการทำงานที่ดีขึ้น

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า