รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงราย กล่าวว่าพร้อมและยินดีที่จะให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่อันจะเป็นความร่วมมือหลายๆ ฝ่ายในด้านสุขภาพ เนื่องจากเยาวชนมีอัตราการสูบเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่ทุกฝ่ายจะต้องมาช่วยกัน ด้านการให้ความรู้ การรณรงค์ด้านต่างๆ สิ่งที่เราทำได้ผลดีและเห็นได้ผลที่ชัดเจนพฤติกรรมการเปลี่ยน อัตราการสูบเริ่มลดลง ต่างจากสุราอาจต้องใช้เวลาพอสมควรและอีกยาวไกล กฎหมายก็เป็นกลไกหรือเครื่องมือหนึ่งในการดำเนินงาน ฉะนั้นเพื่อสร้างกระแส และคุ้มครอง พรบ.จึงควรร่วมกันผลักดันกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ องค์การ เครือข่าย ภาคีที่มีถึงเวลาที่ต้องผนึกกำลัง
นายศักดิ์ดา นายกสมาคมหมออนามัยเชียงรายได้ชี้แจงถึงความจำเป็นเพื่อปกป้องเยาวชนให้ห่างไกลจากยาสูบ , เพิ่มช่องทางเยียวยาในการรักษา , ปกป้องคุ้มครองสุขภาพโดยรวมของคนไทย และประเด็นในการแก้ไขเพิ่มเติมร่าง พ.ร.บ.ยาสูบ คือการห้ามขายให้เด็กเยาวชนอายุไม่ถึง 20 ปีจากเดิม 18 ปี , ห้ามขายผ่านสื่ออิเลคทรอนิค (ปัจจุบันมีนโยบายแต่ไม่มีกฎหมายรองรับ) , ห้ามขายบรรจุซองต่ำกว่า 20 มวน , และห้ามแบ่งขายเป็นมวน (ปัจจุบันห้ามอยู่แล้วแต่ไม่มีกฎหมายรองรับ)
นายพิพัฒน์ ตามสุข นายกสมาคม อสม.เชียงรายกล่าวเพิ่มเติมว่านับเป็นก้าวสำคัญที่เรา อสม.เครือข่ายกว่า 700 กว่าทั่วประเทศต้องแสดงพลังเพื่อให้รัฐได้มองเห็นความสำคัญด้านสุขภาพมากกว่าคลัง และเพื่อให้สอดคล้องพันธกรณี WHO บริษัทขายบุหรี่ยากขึ้น , จำนวนนักสูบหน้าใหม่ลดลง , จำนวนผู้เลิกบุหรี่มากขึ้น , รัฐสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ เหนือสิ่งอื่นใดคือ ร้านค้าปลีกได้รับผลกระทบน้อยมาก , กระทบชาวไรยาสูบน้อยมากเพราะ พ.ร.บ.ฉบับนี้ไม่ได้ระบุห้ามขายยาสูบฯ
ผลจากการประชุมคาดว่าจะได้รายชื่อ 50,000 กว่าคน(อย่างน้อย) และจะมีเครือข่ายองค์งดเหล้าเข้ากิจกรรมในครั้งต่อไปวันที่ 28 พ.ค.58 ณ สสจ.เชียงราย เพื่อยื่นให้กับทางด้านผู้ว่าราชการจังหวัดในการเป็นกระบอกเสียงไปถึงรัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้กลับมามองเห็นสุขภาพของคนไทยมากกว่าเงินคลังที่อ้างว่าเป็นรายได้ของประเทศ