กฎหมายที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการลดการบาดเจ็บตายพิการ ช่วงสงกรานต์ที่จะถึงนี้เรามีเป็น package คือ
– ประเด็นสถานที่
1.1 ห้ามขายบนทางและสถานีขนส่ง โดยไม่มีข้อยกเวันใดๆทั้งสิ้น
1.2 ห้ามบริโภคบนทางขณะอยู่บนรถ โดยไม่มีข้อยกเวันใดๆทั้งสิ้น
1.3 ห้ามขาย /ห้ามบริโภค ในพื้นที่ในกำกับดูแลและใช้ประโยชน์ ของทางราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ (ซึ่งถนนหนทางสาธารณะ/ลานสาธารณะของรัฐ ก็ถือเป็นพื้นที่นี้ด้วย จึงต้องห้ามตามกฎหมายนี้เช่นกัน) แต่มึขัอยกเว้นบ้างตามที่กฎหมายกำหนด เช่น การดื่มบนถนน ที่โดยภาพรวมห้ามดื่ม ยกเว้นให้ดื่มได้เฉพาะในสโมสร ที่พักส่วนบุคคล และการจัดเลี้ยงตามประเพณี ซึ่งก็คงไม่มีใครอนุญาตให้ตั้งสโมสร หรือที่พักส่วนบุคคล บนถนน และการจัดเลี้ยงแต่งงานบนถนนก็แทบจะพบน้อยมาก จึงเหมือนกับการห้ามดื่มโดยสิ้นเชิงนั่นเอง ดังนั้นถ้าเห็นคนขายและดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนถนนก็ผิดกฏหมายทั้งสิ้น
1.4 ห้ามขาย /ห้ามบริโภค ในสถานีรถไฟ และบนรถไฟที่อยู่บนทางรถไฟ โดยไม่มีข้อยกเวันใดๆทั้งสิ้น
1.5 ห้ามขาย /ห้ามบริโภค ในท่าเรือโดยสารสาธารณะ และบนเรือโดยสารสาธารณะประจำทาง โดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น
1.6 สถานที่ต้องห้ามเดิมๆ ที่กฎหมายระบุ เช่น วัด สถานที่สาธารณสุข สถานที่ราชการ ปั้มน้ำมัน สวนสาธารณะ เป็นต้น
ทุกสถานที่ถ้าฝ่าฝืน มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
– ประเด็น วัน เวลา ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
– ประเด็นวิธีการและลักษณะการขาย เช่น การลดแลกแจกแถม ที่พบบ่อยมากในช่วงเทศกาล ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
– ประเด็นการโฆษณาสื่อสารการตลาดเพื่อส่งเสริมการขาย ที่พบบ่อยมากในช่วงเทศกาลเช่นกัน ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
– ประเด็นบุคคล คือห้ามขายให้บุคคลอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ และคนเมาครองสติไม่ได้ ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อมูลจาก : นายแพทย์สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข