นายรังสรรค์ สรรพสามิตพื้นที่พะเยาให้ความรู้เรื่อง พรบ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การขออนุญาตขายสุรา
เอกสารหลักฐานที่ต้องนำมาในวันขอใบอนุญาต
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 2. สำเนาทะเบียนบ้านที่ใช้เป็นร้านค้า
- ถ้าเป็นร้านค้าเช่า ต้องมีสัญญาเช่าบ้าน พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เช่า และหนังสือยินยอมของผู้ให้เช่า
หลักฐานเพื่อขอต่อใบอนุญาตปีถัดไป
- ใบอนุญาตขายสุรา หรือสำเนาใบอนุญาตฯ ฉบับเดิม
- หากมีการเปลี่ยนชื่อเจ้าของร้าน ให้แนบเอกสารการเปลี่ยนชื่อ พร้อมใบอนุญาตฯ ฉบับเดิม
ช่วงเวลาในการขอใบอนุญาต
- ใบอนุญาตขายสุรา จะหมดอายุในวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี
- กรมสรรพสามิตให้บริการออกใบอนุญาตขายสุรา ของปีถัดไป ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ของทุกปี
กำหนดเวลาจำหน่ายสุรา
ร้านค้าใบอนุญาตขายสุรา ประเภทที่ 3 (ร้านค้าขายปลีกสุราทั้งในและต่างประเทศ) และประเภทที่ 4 (ร้านขายปลีกสุราเฉพาะสุราในประเทศ) ขายสุราได้เฉพาะในเวลาตั้งแต่ 11.00 น.-14.00น. และ 17.00น. – 24.00น. เท่านั้น
นายรังสรรค์ สรรพสามิตพื้นที่พะเยาให้ความรู้เรื่อง พรบ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การขออนุญาตขายสุรา
เอกสารหลักฐานที่ต้องนำมาในวันขอใบอนุญาต
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 2. สำเนาทะเบียนบ้านที่ใช้เป็นร้านค้า
- ถ้าเป็นร้านค้าเช่า ต้องมีสัญญาเช่าบ้าน พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เช่า และหนังสือยินยอมของผู้ให้เช่า
หลักฐานเพื่อขอต่อใบอนุญาตปีถัดไป
- ใบอนุญาตขายสุรา หรือสำเนาใบอนุญาตฯ ฉบับเดิม
- หากมีการเปลี่ยนชื่อเจ้าของร้าน ให้แนบเอกสารการเปลี่ยนชื่อ พร้อมใบอนุญาตฯ ฉบับเดิม
ช่วงเวลาในการขอใบอนุญาต
- ใบอนุญาตขายสุรา จะหมดอายุในวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี
- กรมสรรพสามิตให้บริการออกใบอนุญาตขายสุรา ของปีถัดไป ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ของทุกปี
กำหนดเวลาจำหน่ายสุรา
ร้านค้าใบอนุญาตขายสุรา ประเภทที่ 3 (ร้านค้าขายปลีกสุราทั้งในและต่างประเทศ) และประเภทที่ 4 (ร้านขายปลีกสุราเฉพาะสุราในประเทศ) ขายสุราได้เฉพาะในเวลาตั้งแต่ 11.00 น.-14.00น. และ 17.00น. – 24.00น. เท่านั้น
ข้อห้ามตามกฎหมาย
- ห้ามขายสุราให้กับเด็ก หรือเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี บริบูรณ์
- ห้ามขายสุราในสถานที่ ที่ตั้งอยู่ในหรือต่อเนื่อง หรือติดกับ ดังนี้
– ศาสนสถาน – สถานศึกษา – สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง – สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ
-สถานที่ราชการ – สวนสาธารณะของทางราชการ – หอพัก – พื้นที่ประกอบกิจการโรงงาน
3.ห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด ในวันพระใหญ่ 4 วัน ได้แก่ – วันมาฆบูชา – วันวิสาขบูชา
– วันอาสาฬหบูชา – วันเข้าพรรษา
สถานการณ์ผลกระทบทางสังคมจากการดื่มสุราของเด็กและเยาวชนในชุมชนจังหวัดพะเยา ได้แก่
3.1 ปัญหาการทะเลาะวิวาทและการใช้ความรุนแรงของเด็กและเยาวชนเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุปัจจัยเบื้องต้นที่ทำให้เด็กมีอารมณ์ จิตใจร่างกาย ร่างกายคึกคะนอง ใจกล้า ไม่กลัวใคร จึงก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาทขึ้นกับเด็กและเยาวชนด้วยกัน หรือคู่กรณีเด็กกับผู้ใหญ่เป็นคนในครอบครัว บางครั้งเป็นคนต่างหมู่บ้าน
3.2 ปัญหาอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ จากข้อมูลพบว่าเด็กขี่รถจักรยานยนต์ไปโรงเรียนช่วงเวลาหลังเลิกเรียน และในวันหยุดเด็กและเยาวชนจะมีการดื่มสุรา พอเมาแล้วก็มีการขับขี่ด้วยความเร็วสูงหรือมีการแข่งขันทำให้เกิดอุบัติเหตุ
3.3 ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร จากการที่เด็กและเยาวชนใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะทำให้มีโอกาสรวมกลุ่มกันได้ง่าย การชักชวนไปเที่ยวตามสถานแหล่งบันเทิง และนิยมพาแฟนมาร่วมดื่มด้วยทำให้เป็นสาเหตุสำคัญของการขาดสติ ขาดการควบคุมตนเอง และขาดการป้องกันจนทำให้เกิดการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร
3.4 ปัญหาความขัดแย้งและความแตกแยกของครอบครัว จากข้อมูลการศึกษาวิจัย พบว่า พ่อแม่และผู้ปกครองคาดหวังให้ลูกมีอนาคตที่ดี แต่เมื่อลูกมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม จึงสร้างความเครียดและความวิตกกังวล และสร้างความอับอายให้กับครอบครัวจนนำไปสู่การทะเลาะแตกแยกกันของพ่อและแม่ในบางครอบครัว
3.5 ปัญหาการลักขโมยและก่อคดี พบว่าพฤติกรรมการลักขโมยมักจะเริ่มจากที่บ้านของตนเองก่อน ค่อยขยายไปที่บ้านของเพื่อนบ้านและชุมชน เพื่อนำเงินและดื่มสุรา โดยจะทำในช่วงมึนเมาและสำหรับการก่อคดีสำคัญ คือ การทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนถึงแก่ความตาย เพราะปัญหาสืบมาจากการทะเลาะวิวาท (สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพะเยา, 2550)
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในจังหวัดพะเยา
2.1 จำนวน สถานที่ผลิตสุรา และผู้ได้รับอนุญาตจำหน่ายสุราในพื้นที่
จังหวัดพะเยาโดยสำนักงานสรรพสามิตจังหวัดพะเยาได้ออกใบอนุญาตทำโรงงานสุราชุมชน จำนวน 243 แห่ง และมีผู้ได้รับอนุญาตจำหน่ายสุรา จำนวน 2,748 ราย ในปี 2555
เป้าหมายหลัก
- งานบุญปลอดเหล้า 100%
- นำประเด็นเรื่องแอลกอฮอล์เข้าสมัชชาทุกปี บูรณาการทำงานร่วมกับประเด็นอื่นๆ
- โรงกลั่นสุรามีมาตรฐาน ควบคุมไม่ให้เพิ่มจำนวน
- กว๊านพะเยาปลอดเหล้า
- พะเยาไม่ได้เป็นจังหวัดที่มีผู้ดื่มเป็นอันดับ 1
ยุทธศาสตร์
- สร้างคณะทำงานและเครือข่ายทุกระดับ เชื่อมต่อคณะกรรมการแอลกอฮอล์จังหวัด
- สร้างทีมวิทยากรกระบวนการแก้ไขปัญหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- พัฒนาทีมสื่อมวลชน นักจัดรายการวิทยุ เชิงสร้างสรรค์สังคม
- ควบคุมการผลิต จำหน่ายสุราชุมชน สุราเถื่อน โซนนิ่ง มีมาตรการภาษี และกำหนดพื้นที่ปลอดเหล้าให้มากขึ้น
- พัฒนาชุมชนให้เกิดเครือข่ายเข้มแข็งลดปัจจัยเสี่ยง แลกเปลี่ยนและคัดเลือกคนต้นแบบ หมู่บ้านต้นแบบ ส่งเสริมการศึกษาวิจัยในพื้นที่
ข้อเสนอแนะในการจัดการปัญหาในพื้นที่
1.มาตรการทางกฎหมาย
2.มาตรการคุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรง
3.มาตรการสำหรับโรงกลั่นสุราชุมชน (มาตรการเร่งด่วน)
4.มาตรการรณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างค่านิยมสังคม
5.มาตรการสร้างภูมิคุ้มกันเด็กเยาวชน เช่นการจัดตั้งสารวัตรนักเรียน
6.มาตรการช่วยเหลือผู้ที่ติดสุรา