การประชุมพัฒนาตัวชี้วัดเมืองสื่อสร้างสรรค์ 3 ดีวิถีสุข และต้องปลอดภัย จ.แม่ฮ่องสอน

10751997_1480262938929783_1008209647_n

ผศ.ดร.เกศสีนี ประทุมสุวรรณ เข้าร่วมประชุมหมอพลเดช การทำงานของ แม่ฮ่องสอนที่เข้มแข็งและทำงานเป็นเครือข่ายในพื้นที่ จุดเริ่มต้นเวทีภาคประชาชน จะทำให้เกิดศูนย์ประสานงานในจังหวัดได้อย่างไร จะต้องกลับมาคิด ปัญหาต่างๆ จะมีการพูดคุยคลี่คลายได้อย่างไร ? เพื่อให้เชื่อมร้อยเป็นแนวทางเดียวกัน ถ้าแม่ฮ่องสอนเป็นเมื่อสร้างสรรค์ เมืองที่มีความสุข ปลอดภัย จะมีตัวอะไรเป็นตัวชี้วัด เพื่อให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม ทุกวัย   การทำงานพื้นที่ดี พื้นที่ปลอดภัย การกำหนดพื้นที่โซนนิ่ง เพื่อให้ตอบโจทย์ เมือง 3 ดีวิถีสุข

pai

 

สื่อดี พื้นที่ดี คนดี ทั้งเด็กเยาวชน ผู้นำดี สู่การเป็นพื้นที่การเรียนรู้ และพร้อมที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ทั้งคนในพื้นที่ และคนสนใจทั่วไปในประเด็นนั้น เพื่อให้มีองค์ประกอบที่สร้างสรรค์ การมีเปิดพื้นที่ได้มีการพูดคุยกันอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยแวดล้อม ท้องถิ่นที่เข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างไร พร้อมทั้งเกิดนโยบายสาธารณะ การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง

 

 

นายรอน ใจกันทา

จากมุมมองและการสำรวจของประเทศแม่ฮ่องสอนเป็นเมืองมีความสุขของประเทศ ฉะนั้นในวันนี้จึงมีเวทีชวนคิด ชวนคุยว่ามีประเด็นไหนบ้างที่เป็นตัวชี้วัด ที่จะสามารถตอบโจทย์ได้ว่าอะไรคือพื้นที่สร้างสรรค์ อะไรคือความสุขที่แท้จริงของคนในพื้นที่จริงๆ   เราจะใช้สื่อเพื่อสร้างอำนาจในการต่อรองแต่ต้องเป็นสื่อที่สร้างสรรค์ให้เข้ากับกระแสหลักได้ เราไม่ได้ปฎิเสธแต่เราจะทำอย่างไรเพื่อให้การรู้เท่าทัน และรับมือได้

 

 

วิสุทธิ์ เหล็กสมบูรณ์

ด้านการอ่านโดยมี กศน.ที่มีบทบาทหน้าที่อยู่แล้วที่ส่งเสริมด้านการอ่าน โดยมองไปถึงมหกรรม 8 จังหวัดภาคเหนือ การอ่านสู่อาเซียน ที่สำคัญคือมีสภา และภาคประชาคมที่เข้มแข็ง เรื่องการผลิตสื่อ ด้านวิชาการ สื่อเต็มตัวแค่ไหนที่จะมีแรงจะเข้ามา เพื่อให้เชื่อมโยงหลายส่วนในพื้นที่เพราะแม่ฮ่องสอนอยู่ติดกับแนวชายแดนจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับ 8 จังหวัดภาคเหนือ จุดแข็งคือจังหวัดเล็ก ภาครัฐใกล้ชิดกัน มีการเชื่อมโยงระดับภาคล้านนาน ชาติพันธ์ที่สามารถสื่อสารกันได้

ด้านภาษา เป็นการทำลายเรื่องสื่อ ฯ ควรเพิ่มเรื่องภาษาถิ่นให้มากขึ้น การพัฒนาตัวหนังสือ มีหลายหน่วยงานเริ่มให้ความสนใจ รายการวิทยุเด็กเยาวชน (เสียงเด็กชนเผ่า) กระบวนการเชื่อมโยงสื่อกับภาษายังเป็นข้อจำกัดอยู่ การหนุนเสริมเรื่องประเพณี พิธีกรรม ช่องทางการสื่อสาร การถอดบทเรียน

 

อาจารย์ประเสริฐ ประดิษฐ์ ประธานสภาวัฒนธรรมแม่ฮ่องสอน สถาบันไทใหญ่ และวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน พร้อมทั้งสภาเด็กเยาวชน การรับรู้ รากเหง้าของวัฒนธรรมจะทำอย่างไร ? จะทำอย่างไรอย่างไรเพื่อให้การรู้เท่าทันสื่อ เหตุการณ์การต่างๆ รู้ในสิ่งที่สร้างสรรค์ ที่สำคัญสื่อวิทยุที่สามารถครอบคลุมคนในพื้นที่ได้ดีที่สุด

สิ่งที่เราการดึงแกนนำชนเผ่า เข้ามารับรู้ข้อมูลข่าวสารพร้อมทั้งการค่อยๆ ปรับเปลี่ยนทัศนคติ ค่านิยมที่ถูกต้องเพื่อให้เข้ากับสภาพปัจจุบันให้มากที่สุด การให้เด็กเยาวชนเรียนรู้รากเหล้าความเป็นชนเผ่า ชาติพันธ์อย่างแท้จริงสิ่งเหล่านี้ควรอยู่ในแผนการพัฒนาของแต่ละหน่วยงานด้วย

10754882_1480262935596450_745986663_n

 

ความคาดหวัง /ข้อเสนอแนะ

รับทราบตัวชี้วัดเมืองสร้างสรรค์ การมีพื้นที่ให้กับทุกกลุ่ม ทุกวัย ทุกชาติพันธ์ในพื้นที่ได้เข้ามาเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ การสร้างค่านิยม การปรับทัศนคติของคนในพื้นที่อันที่ถูกต้อง ให้เป็นแก่นแท้ของคนแม่ฮ่องสอน

– ร่วมกันวางแผนตัวชี้วัด จะต้องสร้างการเรียนรู้และหน่วยงานจะต้องพร้อมการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อให้เป็นแผนแม่บทของพื้นที่

– กำหนดตัวชี้วัดเฉพาะ ตามบริบทของพื้นที่ระหว่างในเมือง และชายขอบ เช่น สื่อสร้างสรรค์ให้แต่ละพื้นที่นิยามขึ้นมา หรือคำว่าสุข รวมไปถึงการผลักดันให้ไปถึงนโยบายท้องถิ่นการตีกระแสหลักสร้างการรับรู้ เช่น มหกรรม หรือมีเวทีพบปะกันบ่อยๆ

-การผลิตสื่อ และคู่มือ หรือชุดองค์ความรู้ทั้งคนทำงาน  และพื้นที่ให้มากที่สุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า