เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2557 ณ ห้องประชุม เทศบาลนครเชียงใหม่ พระครู ดร.สมุห์ วิเชียร คุณธมฺโม ประธานศูนย์ประสานงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้าจังหวัดเชียงใหม่ร่วมกับทาง นาย ณัฐฐ์ชูเดช วิริยดิลกธรรม รองนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ และเครือข่ายชุมชน 5 ชุมชุม ได้แก่ ชุมชนศรีดอนชัย, ศรีสร้อยทรายมูล, หนองเส้งและชุมชนสันป่าข่อย ได้เห็นความสำคัญในการส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรมพร้อมกับลดปัญหาความสูญเสีย ที่เกิดขึ้นในช่วงยี่เป็งหรือลอยกระทง ซึ่งได้ร่วมกันจัดกิจกรรมรณรงค์ต่างๆ ของเครือข่ายชุมชนริมฝั่งน้ำปิงในเขตเทศบาล ภาคีทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดการสานพลังเครือข่าย และการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการเกิดอุบัติเหตุจากการดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อกำหนดเป็นมาตรการทุกภาคส่วนสามารถนำไปปฏิบัติการได้ตามจริง
สำหรับกิจกรรมนั้นมีการกำหนดในที่ประชุมให้มีการประกวดท่าน้ำทางเดินปลอดภัย วัฒนธรรมสร้างสุข เสน่ห์ยี่เป็งเชียงใหม่ “ประทับใจที่ริมปิง” ได้กำหนดเป้าหมายร่วมกัน โดยเป้าหมายปี พ.ศ.2557-2558 ชุมชนริมแม่น้ำปิง จะตกแต่งท่าน้ำทางเดินตามหลักวัฒนธรรมของชุมชน ได้อย่างงดงาม สว่างปลอดภัยและเป็นจุดลอยกระทงหรือขอขมาแม่น้ำปิง ให้กับชาวบ้านนักท่องเที่ยว อย่างประทับใจ ปี พ.ศ. 2559-2560 ชุมชนริมแม่น้ำปิง สามารถบริหารจัดการพื้นที่ริมแม่น้ำปิงตามนโยบายขอเสนอเชิง วัฒนธรรมสร้างสุข ของชุมชน โดยมีปฏิบัติการให้ริมฝั่งเป็นแหลงท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในประเพณียี่เป็งและวาระอื่นๆ และปี พ.ศ. 2561-2562 ชุมชนแม่น้ำปิงสามารถสร้างรายได้ เศรษฐกิจเชิงประเพณีวัฒนธรรม โดยการทำให้นักท่องเที่ยวมีความประทับใจ อุดหนุนเศรษฐกิจของชุมชน รวมทั้งเห็นความสำคัญของการขมาแม่น้ำปิง โดยเป็นรูปแบบถนนคนเดินริมปิงที่ยาวที่สุดของจังหวัดเชียงใหม่ (ซึ่งเป็นสวนสาธารณะ) ในวาระเทศกาลประเพณียี่เป็ง หรือวันธรรมดาช่วงเย็นประจำสัปดาห์
ทั้งนี้ทางประชาคมเครือข่ายงดเหล้าจังหวัดเชียงใหม่จะได้หนุนเสริมการจัดงานยี่เป็งเมืองเชียงใหม่ในวันที่ 5-7พฤศจิกายน 2557โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยและลดปัญหาอันสืบเนื่องมาจากปัญหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จุดประทัดยักษ์ จุดพลุไฟ กิจกรรมดนตรีสร้างสรรค์ การเฝ้าระวังการกระทำ ผิดตาม พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในความรับผิดชอบและประสานงานความร่วมมือไปยังภาคส่วนต่างๆ ทั้งนี้ได้ขอความร่วมมือไปยังทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรการและรณรงค์ การเกิดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่จะตามมา เพื่อให้การดำเนินความร่วมมือเป็นเอกภาพและให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีของประเพณียี่เป็งล้านนาจึงร่วมมือกับทางตำรวจเทศบาลทหารและชุมชนเพื่อกำหนด นโยบายสาธารณะสิ่งที่ชุมชนอย่างเห็นและสิ่งที่ชุมชนไม่อยากเห็นในงานประเพณียี่เป็งเพื่อสะท้อนข้อปัญหาต่างๆ ที่ชุมชนนั้นๆ ได้เคยพบเจอมาตั้งแต่ก่อน จึงได้หาลือขอเสนอร่วมกันทางเครือข่ายชุมชนและทางเทศบาลนครเชียงใหม่ได้หารือและได้ข้อสรุปขอข้อเสนอทางนโยบายของชุมชนแต่ละพื้นที่ดังนี้
1. เปิดพื้นที่และให้โอกาสให้ชุมชนเข้าร่วมจัดการดูแลและจัดการกิจกรรมและการจัดงานยี่เป็ง
2. เพิ่มพื้นที่สว่างและเพิ่มเติมความน่าชื่นชมทางท่าน้ำให้มากขึ้น
3. การอนุรักษ์วัฒนธรรมล้านให้คงอยู่ให้แต่งชุดล้านนาหรือพื้นเมือง
4. จัดระเบียบและขอบเขตการค้าขายของแม่ค้าพ่อค้าที่นำสิ่งของหรืออาหารมาจำหน่าย